heat pump,heatpump,leaf heat pump,ฮีทปั๊ม,เครื่องทำนํ็าร้อน

ได้ดูข่าว ช่างแอร์ ทางานแล้ว เกิดการระเบิด บาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต กันมาก และเป็นข่าวต่อเนื่องกันมาตลอดเวลา เมื่อเกิดเรื่อง เวลาตํารวจให้ข้อสันนิฐานก็สันนิฐานผิด เพราะไม่มีความรู้ด้านนี้ เวลาข่าวออกไป ช่างแอร์ที่ทํางานกัน ก็ไม่รู้เรื่องจริงๆ ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ในช่วงนี้เห็นมีเอกสารออกมาชี้แจงเกี่ยวกับ การระเบิดกันเยอะซึ่งก็ถูกต้องทั้งหมด

ผู้เขียนมีประสบการณ์งานติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เป็นทั้งผู้ลงมือติดตั้งบางครั้งเป็นผู้ออกแบบ และเป็นเจ้าของกิจการ ขายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งเป็นทั้งผู้สอน งานติดตั้งเครื่องปรับอากาศมาโดยตลอด ขอเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ที่ตนเองได้ไปพบมาทั้งหมด ที่จริงมีหัวข้อหลักๆแค่ 2 หัวข้อเท่านั้นที่อยากจะกล่าวถึง คือ


1. ระเบิดเพราะเอาออกซิเจน ไปอัดทดสอบหารอยรั่ว (ซึ่งเป็นข้อห้าม เพราะอันตรายมากๆ) ซึ่งเรื่องนี้
เกิดบ่อยมากที่สุด สาเหตุเพราะที่ถูกต้องๆ ใช้ไนโตรเจน ในการอัดแรงดันเพื่อตรวจสอบหารอยรั่ว แต่ค่ามัดจํา
ถังไนโตรเจน ราคา 6,000.-บาท และถังไนโตรเจนหนามาก จึงหนักและมีขนาดใหญ่ จึงไม่สะดวกต่อการ
เคลื่อนย้าย (ทั้งๆที่ก๊าซไนโตรเจน ในถังมีราคาแค่ 200.-บาท เท่านั้น) ในหัวข้อนี้ที่ส่วนใหญ่ไม่พูดถึงกันลองลง
ลึกในรายละเอียดดู เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ออกแบบมาให้ใช้ ซ่อมและติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ไม่สามารถที่จะ
ต่อท่อนําออกซิเจน เข้าไปในระบบได้เลย เพราะเกลียวทุกอย่าง คนละมาตรฐาน เป็นความดิ้นรนของช่างที่ดิ้น
รนไปหาเรื่องบาดเจ็บและตาย โดยการไปกลึงข้อต่อต่างๆมาเพื่อให้เกลียวเข้ากันได้โดยเริ่มตั้งแต่ กลึงเกลียวข้อ
ต่อมาใส่แทนชุดลดแรงดัน(Regulator) ปล่อย ออกซิเจน แรงดันเต็มที่จากในถังออกซิเจนเข้าระบบเลย ถ้าไปดู
จากรูปในข่าวต่างๆ ส่วนใหญ่จะเห็น ถังออกซิเจน ใส่ข้อต่อตรงที่ว่านี้ทั้งนั้นบางคนที่ไม่ตายหลังจากเกิดเหตุ ก็
บอก เคยใช้มาแล้วไม่เห็นระเบิด ทาไมครั้งนี้มันถึงระเบิด ผมตอบคาถามเขาไม่ได้ แต่ตอบว่า  ครั้งนี้โชคดี ที่เขา
ยังไม่ตาย สรุปหัวข้อนี้คือ
ห้ามใช้ ออกซิเจน อัด ตรวจหารอยรั่วโดยเด็ด


2. ระเบิดเพราะเอาไนโตรเจนไปอัดหารอยรั่ว โดยไม่ผ่านชุดลดแรงดัน(Regulator) เรื่องนี้ถ้าลงลึกใน
รายละเอียดจะพบว่า  เมื่อประมาณ20ปี ที่แล้ว Regulator ของ ไนโตรเจน ตัวถูกๆเริ่มจาก 8,500.-บาท ในขณะนั้น
regulator ของ ออกซิเจน ราคาตัวละ 700.-บาท (ปัจจุบัน เช็คเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 Regulator ของ
ไนโตรเจน 40 Bar ของไต้หวัน ตัวละ 4,000.-บาท Regulator ของออกซิเจน ของไต้หวัน ตัวละ 800.-บาท) ที่
สําคัญ Regulator นั้นบอบบางมาก หน้าปัทม์ เป็นพลาสติกใส อะไรทับนิดเดียวก็แตกหัก และเมื่อเวลาใช้งาน
ต้องเอาไปต่อใช้กับถังไนโตรเจน ที่เป็นทรงกระบอกถังกลิ้งได้ แค่กลิ้งทับทีเดียว Regulator ก็แตกหักช่างจึง
ไม่อยากใช้ Regulator กันและเหมือนกับข้อ 1 เครื่องมือซ่อมติดตั้งแอร์มาตรฐานไม่สามารถจะต่อโดยไม่ใช้

Regulator จึงดิ้นรน ไปกลึงข้อต่อทองเหลืองมาใส่แทน นั้นคือ ดิ้นรนไปสู่การบาดเจ็บและตาย เพราะเป็นข้อ
ห้ามอยู่แล้วว่า
ห้ามใช้ ไนโตรเจนโดยไม่ผ่าน ชุดลดความดัน Regulator


ในเรื่อง Regulator เนื่องจากแตกหักง่าย และมีราคาแพงให้ระวังอย่างไร ก็ป้องกันยาก จึงออกแบบใส่เสื้อเกราะให้มัน โดยทํากล่องให้มัน โผล่อุปกรณ์เกลียว ให้ออกมาต่อเข้ากับถังไนโตรเจนได้ และเจาะใส่ช่องหน้าปัทม์ปิดด้วยพลาสติกใสอีกชั้นหนึ่ง Regulator ตามรูปนี้ใช้มา 20 กว่าปี แล้วยังใช้ได้ดีอยู่ครับ

รูป Regulator ใส่เสื้อเกราะ


รูป Regulator เมื่อเลิกใช้งานใส่กล่องเก็บ


ส่วนถังไนโตรเจน หรือถังออกซิเจน ตามมาตรฐานความปลอดภัยระบุว่าต้องวางบนรถเข็นล็อคด้วย
โซ่ให้ถังอยู่ในแนวตั้งแต่สภาพหน้างานจริงในงานติดตั้งแอร์ตามบ้าน และอาคารส่วนใหญ่ไม่สามารถทําแบบ
นั้น ดังนั้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และไม่ให้ถังกลิ้ง ทําให้ Regulator ไม่เสียหายง่าย เอาเหล็กฉาก มายึด U-Bolt
ล็อคถังให้กลิ้งไม่ได้ ตามรูปครับ

ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ไม่ต้องมาขออนุญาต ถ้าเห็นว่าใช้ได้ทำใช้เลยครับ เพียงแต่หยุดดิ้นรนไปสู่ความบาดเจ็บและตาย ช่วยกันสอนช่างรุ่นน้องกันต่อไปด้วย อีกเรื่องที่สําคัญ ไม่แน่ใจว่ามีคนกลึงข้อต่อที่ว่านี้มาวางขายหรือไม่ เพราะการไปสั่งกลึงพวกนี้มาใช้มันต้องใช้เ วลา และแพง แต่หากมีคนทํามาขายเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ต้องดําเนินการกับคนพวกนี้ด้วย


รูป U-Bolt รัดท่อไม่ให้กลิ้ง

รูปท่อรัดด้วย U-Bolt แล้วกลิ้งไม่ได้

 

 

 บทความจาก

สมนึก ชีพพันธุ์สุทธิ์